วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การดูแลรักษายางพารา

เทคนิคการดูแลรักษายางพาราเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด
          การใส่ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด
1. การกำจัดวัชพืช
      1. ไถและพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้งก่อนปลูก
      2. ใช้แรงงาน ขุด ถาก ดาย หรือตัดวัชพืชที่ขึ้นในแถวยาง และควรทำก่อนวัชพืชออกดอก
      3. ใช้วัสดุคลุมดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ เช่น เปลือกถั่ว ฟางข้าว ซังข้าวโพด หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น คลุมโคน ต้นยางเฉพาะต้น หรือตลอดแถว เว้นระยะพอควรไม่ชิดโคนต้นยาง
      4. ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ได้แก่ คาโลโปโกเนียม เซนโตรซิมา เพอราเรีย และซีรูเลียม ห่างจากแถวยางประมาณ 2 เมตร
 
2. การปลูกพืชคลุม
          การปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยางเป็นวิธีหนึ่งที่ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช และลดการชะล้างและพังทลายของ ดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ตลอดจนสามารถปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วย ใน โดยช่วงแรกของการปลูกอาจปลูกพืชอื่นแทนพืชคลุมดิน อาทิ พืชผักหรือไม้ผลที่มีอายเก็บเกี่ยวสั้นระหว่างช่องว่างของต้นยางได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผักกินใบ เช่น ผักกาดหอม,หอมแบ่ง,ถั่ว,ฯลฯ หรือ ไม้้ผล เช่น กล้วยน้ำว้า,ฯลฯ  แต่ต้องระมัดระวังหมั่นควบคุมป้องกันในเรื่องของแมลงศัตรูและโรค ซึ่งอาจกระทบกับยางพาราด้วย

3.  การใช้ปุ๋ยในสวนยาง
                   ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด คือ ปุ๋ยที่ใส่ตั้งแต่เริ่มปลูกจนต้นยางได้ขนาดกรีด ปุ๋ยที่ใช้ ได้แก่ ปุ๋ยรองก้นหลุม  และ ปุ๋ยบำรุง
          ปุ๋ยรองก้นหลุม เป็นปุ๋ยที่เร่งให้รากงอกและแผ่ขยายเร็ว ปุ๋ยรองก้นหลุมที่แนะนำใช้ในสวนยางได้แก่ ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ยักษ์เขียว(แถบเขียว) วิธีใส่ ปุ๋ยรองก้นหลุม โดยขุดดินแยกเป็น 2 ส่วนคือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ใช้ดินบนกลบลงในหลุมก่อน ส่วนดินล่างใช้คลุกกับปุ๋ยหิน ฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม + ปุ๋ยอินทรีย์ยักษ์เขียว สูตร 2 อัตรา 1 กิโลกรัม ผสมดินก้นหลุม ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นยางมีอัตราการรอดตายสูงและการเจริญเติบโตในช่วงแรกดีขึ้น
          ปุ๋ยบำรุง  เป็นปุ๋ยที่ใส่เพื่อเร่งให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว สามารถเปิดกรีดได้เร็วขึ้นและให้ผลผลิตสูง ปุ๋ยบำรุงที่แนะนำ ใช้ในสวนยางก่อนเปิดกรีด จำนวน 2 สูตร คือ
                   
สูตร 20-8-20 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางเดิม
                   
สูตร 20-10-12 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางใหม่
            ในกรณีที่ต้องการลดต้นทุนปุ๋ยเคมี สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ โดยใส่ในอัตราดังในตาราง  จะช่วยลดต้นทุนปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 20-50 เปอร์เซ็นต์  โดยจะทำให้สามารถให้น้ำยางได้ดีมากกว่าและอายุการให้น้ำยางของต้นนานกว่า ต้นไม่โทรม หมดปัญหาหน้ายางตาย เนื่องจากยักษ์เขียว มีธาตุอาหารที่ครบถ้วนกว่า และปลดปล่อยธาตุอาหารได้ต่อเนื่องและยาวนานกว่าปุ๋ยเคมี และยังทำให้สภาพดินดีขึ้น
          สำหรับช่วงยางต้นเล็ก  อาจฉีดพ่นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น(ฝาแดงหรือฝาเขียว) เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ทำให้ต้นแข็งแรงเจริญเติบโตได้ดี ทนแล้ง และยางสามารถเปิดกรีดได้เร็วขึ้น

 ระยะเวลา และอัตราการใส่ยักษ์เขียวที่ใช้กับต้นยางก่อนเปิดกรีด

ปีที่
อายุต้นยาง (เดือน)
เขตปลูกยางเดิม
เขตปลูกยางใหม่
ปุ๋ยอินทรีย์  ยักษ์เขียว
(กรัม/ต้น)**
ปุ๋ยอินทรีย์  ยักษ์เขียว
(กรัม/ต้น)**

ดินร่วนเหนียว
ดินร่วนทราย
ดินทุกชนิด


1
2
5
11
200
200
260
250
280
340
200
200
250


2
14
16
23
300
300
300
400
400
400
250
250
300

3
28
36
430
430
500
500
360
360

4
40
47
500
500
650
650
440
440

5
52
59
550
550
800
800
540
540

6
64
71
800
800
1000
1000
700
700

**100 กรัม = 1 ขีด(1 กำมือ)
          ในขณะที่ต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยบริเวณรอบโคนต้นยางในรัศมีทรงพุ่มใบ (อาจฉีดเสริมด้วย ไบโอเฟอร์ทิล  เพื่อเร่งการเจริญเติบโต  ช่วยทำให้ต้นให้น้ำยางได้เร็วขึ้น)  หลังจากนั้นเมื่อต้นยางอายุ 2 ปีขึ้นไป ใส่เป็นแถบ 2 ข้าง ในบริเวณระหว่างแถวยางตามแนวทรงพุ่มของต้นยาง โดยวิธีคราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดิน หรือขุดหลุมลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร จากผิวดิน จำนวน 2 หลุมต่อต้น
การใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด
                การใส่ปุ๋ยให้แก่ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว อัตรา 2-4 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ครั้งแรกใส่ในต้นฤดูฝนหลังจากยางผลัดใบ ขณะที่ใบเพสลาด คือ ประมาณปลายเดือนเมษายน - พฤษภาคม และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย ประมาณเดือนสิงหาคม -กันยายน โดยหว่านปุ๋ยในบริเวณห่างจากโคนต้นยางประมาณ 3 เมตร หรือบริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยาง คราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดินที่ ระดับความลึกประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร  โดยในช่วงก่อนเปิดกรีดประมาณ 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20 หรือ 16-16-16  ทับหน้าบาง ๆ ในอัตรา  200 กรัมต่อต้น(2 กำมือ)  ก็จะทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางมากและสม่ำเสมอตลอดช่วงการเปิดกรีด
เทคนิคการเพิ่มน้ำยางและการทำให้หน้ายางนิ่ม
          ในการกรีดยางนั้น หากต้องการน้ำยางเพิ่ม และรักษาให้หน้ายางนิ่มอยู่เสมอ แนะนำให้ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรไล่แมลง หรือ สูตรเร่งขนาดผล,หัว) ปริมาณ 6 ส่วนผสมน้ำ อีก 4 ส่วน  ฉีดพ่นบริเวณที่เปิดกรีด ทุก ๆ 3-5 วัน จะทำให้ได้น้ำยางมากขึ้น หน้ายางนิ่ม กรีดง่าย
การแก้ปัญหารากเน่า โคนเน่า
          เรื่องที่สำคัญซึ่งเป็นผลพวงจากการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป หรือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปลอม(ที่ใช้เคมีมาผสม) บ่อย ๆ ก็ คือ  ปัญหาเรื่องดินเสื่อมสภาพ ทำให้รากดูดซึมปุ๋ยได้น้อย  ให้ผลผลิตน้อย และเกิดปัญหารากเน่าตามมา เนื่องจากดินเสียสภาพไปจากเดิมที่เคยเป็น  ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดกับพื้นที่ที่ปลูกยางมานาน  โดยขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ใส่แต่ปุ๋ยเคมี ก็จะประสบปัญหานี้มาก  ซึ่งหากต้นเป็นโรคแล้วต้องรีบแก้ไขทันที เพราะโรคนี้สามารถระบาดในแปลงได้รวดเร็ว 
การแก้ไขเฉพาะหน้า(เร่งด่วน)  สำหรับต้นที่เป็นโรคแล้วทำได้โดย  ใช้ เมธาแล็กซิล + แมนโคเซป  อัตรา 40+40 กรัมผสมน้ำ 5-10 ลิตร  ราดบริเวณรากโดยรอบของต้นให้ทั่ว  โดยใช้ติดต่อกันประมาณ 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน  จากนั้นประมาณ 15 วันให้ใช้  ชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืช ไตรโคแม็ก  อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ  20 ลิตร  ราดบาง ๆ  บริเวณรากหรือทั่วพื้นที่  ทุก ๆ  3 เดือน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายและกลับมาเป็นซ้ำ
การป้องกันที่ต้นเหตุ(สำหรับทั้งพื้นที่ใหม่และเก่ารวมถึงพื้นที่ ที่ประสบปัญหา)  สาเหตุหลัก ๆ ซึ่งเกิดในทุกพื้นที่ ก็คือ การใช้ปุ๋ยเคมีบ่อยเกินไป โดยขาดการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อบำรุงต้น  ซึ่งปุ๋ยเคมีนั้น  โดยคุณสมบัติจะช่วยกระตุ้นและเป็นแหล่งอาหารให้พืชก็จริงอยู่ แต่ก็มีผลเสียเช่นกัน โดยเมื่อใส่เป็นประจำ จะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดจัด  มีเกลือสะสมมาก  จนเป็นสาเหตุให้ดินเสื่อมสภาพ กระด้าง  จนรากพืชไม่สามารถดูดซึมอาหารและเนื้อปุ๋ยไปใช้ได้และหากตกค้างมากก็ยังเป็นพิษกับรากพืชอีกด้วย  ดังนั้น การใส่ปุ๋ยให้ต้นยาง จึงควรเน้นที่ปุ๋ยอินทรีย์แท้(ไม่ปนเคมี)  เป็นหลักแล้วเสริมปุ๋ยเคมีเพื่อกระตุ้นในบางช่วงก็เป็นการเพียงพอแล้ว  ดังแนวทางที่กล่าวไว้ในข้อ 1  ก็จะทำให้ต้นยางมีสภาพสมบูรณ์  ปัญหาเรื่องโรคน้อย และยังเป็นการประหยัดต้นทุนลงจากเดิมได้อีกด้วย
การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช  สำหรับยางเล็กที่ยังไม่เปิดกรีด  ช่วงแรกอาจพบมีการระบาดของแมลงศัตรูพืช   และในต้นที่เปิดกรีดแล้ว(โดยเฉพาะปลวก)  แนะนำให้ใช้ ชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลง "เมทา-แม็ก" ซึ่งสามารถป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูได้หลายชนิด(ดูรายละเอียดตามฉลาก)  ผสมน้ำในอัตรา  50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นทุก ๆ 30-45 วัน หรือฉีดพ่นเมื่อพบมีว่ามีการเข้าทำลาย  หรือใช้ เมทา-แม็ก ผสมเหยื่อล่อตามวิธีดังนี้คือ
นำ เมทา-แม็ก(Metarrhizium) คลุกผสมกับปุ๋ยคอก (มูลโค มูลไก่ ฯลฯ ) และแกลบสุกในอัตรา 1 กก. ต่อ 50 กก. ต่อ 20 กก. ตามลำดับ ระหว่างผสมให้ฉีดพรมน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นกระตุ้นการขยายของเชื้อให้เพิ่มปริมาณ มากขึ้น หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน (24 ชั่วโมง) ก่อนนำไปหว่านหรือใส่ถุงกระดาษหรือกระบอกไม้ไผ่แห้งแล้วนำไปฝังดินไว้เป็น จุด ๆ รอบบริเวณโคนต้นยางพารา โดยขุดหลุมให้ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินที่ขุดขึ้นมาอย่างหลวม ๆ (ไม่กดดินจนแน่น) ตัวปลวกที่อยู่ในดินจะออกมากินถุงกระดาษและราเขียวที่อยู่ในถุง ทำให้เชื้อราเขียวติดไปกับตัวปลวกเข้าสู่ภายในรังปลวกและสามารถเข้าทำลายตัว ปลวกให้ตายหมดทั้งรัง การใช้ เมทา-แม็ก จำเป็นต้องหยุดสารเคมีหรือเคมีที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อรา เพื่อให้ได้ผลเต็มที่ ควรกระทำซ้ำๆ 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 สัปดาห์ครั้ง 

ข้อเปรียบเทียบหลังจากดูแล ตามคำแนะนำเป็นประจำ       
1.    ฉีดขณะต้นเล็ก จะทำให้ต้นเจริญเติบโตดี ทนแล้ง ต้นแข็งแรงทำให้เปิดกรีดได้เร็ว และน้ำยางได้มากอย่างสม่ำเสมอ(ไบโอเฟอร์ทิล เป็นสารธรรมชาติ ไม่กัดผิวใบทำให้ใบด้านเหมือนการใช้เคมีอย่างเดียว)
2.    สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
3.    การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว  ร่วมด้วยเป็นประจำ  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น  ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี  และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ต้นยางให้น้ำยางมากและสม่ำเสมอ ต้นไม่โทรม  ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม  เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

การปลูกยาง

สวน ยางพารา
ปลูกยางอย่างไร จึงประสบผลสำเร็จ
ยางพารา เป็นพืชที่ปลูกเพื่อหวังผลผลิตในระยะยาว จนอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป หากเกษตรกรปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ไม่เพียงแต่เกษตรกรเองที่ต้องสูญเสียเงินที่ลงทุนลงแรงไป เสียทั้งเวลาและโอกาสแล้ว ยังทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างน่าเสียดาย การปลูกยางเกษตรกรควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ พื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วัสดุปลูก วิธีการปลูกตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก รวมไปถึงการดูแลรักษาสวนยางอย่างถูกต้อง เช่น การใส่ปุ๋ย การปลูกพืชคลุม การตัดแต่งกิ่ง ฯลฯ เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเปิดกรีดได้เร็ว และให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอ
คุณสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บอกว่า การปลูกสร้างสวนยางเกษตรกรจำเป็นต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยาง เสียก่อน เพราะปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ลุ่มน้ำขัง พื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ดินด่าง ดินปลวก และดินที่มีหินกรวดอัดแน่น หรือเป็นแผ่นหินแข็ง ทำให้ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ต้นเล็กไม่ได้ขนาดเปิดกรีดเมื่ออายุ 7 ปี ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ รากแขนงของต้นยางยังไม่สามารถใช้น้ำในฤดูแล้ง ยิ่งถ้าช่วงแล้งยาวนานก็จะทำให้ต้นยางตายจากยอดได้ง่าย
เกษตรกรจึง ควรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โดยให้พิจารณาในเรื่องของดินและภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ราบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันก็ไม่ควรเกิน 35 องศา
ถ้าความลาดชันเกิน 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันต้นยางโค่นล้มได้ง่ายด้วยแรงลม พื้นที่ควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง นอกจากนี้ ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน ระดับน้ำใต้ดินควรต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 4.5-5.5 นอกจากนี้ ควรมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตร ต่อปี และมีจำนวนวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120-150 วัน ต่อปี
หากเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมดังกล่าว นอกจากต้นยางจะเจริญเติบโตไวแล้ว ยังให้ผลผลิตสูงและคุ้มค่ากับที่ลงทุนไป แต่ในทางตรงข้ามถ้าเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และเกิดปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง
สวนยางที่เพิ่งปลูกใหม่และสวนยางที่เปิดกรีดแล้วจะได้รับผลกระทบ ทำให้ต้นยางยืนต้นตาย ซึ่งมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
การแก้ไข เกษตรกรก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยรักษาความชื้นในดิน การใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยาง การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็จะทำให้ต้นยาง สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งการขุดคูระบายน้ำให้มีความลึกมากกว่า 2 เมตร จากระดับผิวดิน ในกรณีดินมีน้ำท่วมขัง การช่วยบำรุงต้นยางเพิ่มขึ้นโดยวิธีต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี แต่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
หลังจากเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ถ้าจะปลูกยางให้ประสบผลสำเร็จสูง เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโต เปิดกรีดได้เร็วขึ้นนั้น มีขั้นตอนการปลูกยาง ดังนี้
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา
โดยการไถพลิกและไถพรวน อย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการ อนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง
วางแนวปลูกต้นยางพารา
กำหนดแถว หลักของต้นยางโดยให้วางขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน ให้แถวหลักห่างจากเขตสวนเก่า ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พร้อมขุดคูตามแนวเขตสวน เพื่อป้องกันโรครากยางและการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นวางแนวปลูกด้วยการปักไม้ชะมบตามระยะปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา ให้วางแนวปลูกตามแนวระดับและทำขั้นบันได ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูฝน (มีนาคม-ต้นเมษายน)
ระยะปลูกต้นยางพารา
ถ้า เป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิมภาคใต้ ใช้ระยะปลูก 2.5x 8 เมตร หรือ 3×7 เมตร จะปลูกยางได้ 80 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่ ใช้ระยะปลูก 2.5×7 เมตร หรือ 3×6 เมตร หรือ 3×7 เมตร มีจำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่
ขนาด ของหลุม ขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องถอนไม้ออก แยกดินส่วนบนและส่วนล่างไว้คนละกอง ผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ พอดินแห้งย่อยดินให้ละเอียด นำดินส่วนบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ใส่ด้านบน
วิธีปลูกยางพารา
การปลูกยางให้ถูกวิธี โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม จะให้ผลสำเร็จสูง มีจำนวนต้นยางรอดตาย 87-94% โดยใช้ต้นยางชำถุงพันธุ์ดี มีขนาด 1-2 ฉัตร และฉัตรยอดต้องแก่เต็มที่ เลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงศัตรู เกษตรกรสามารถเลือกพันธุ์ยางแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในเขตปลูกยางใหม่ นิยมปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 มากกว่าร้อยละ 95 แต่ก็ยังมีพันธุ์อื่นที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเช่นกัน ได้แก่ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 226 พันธุ์ BPM 24 นอกจากพันธุ์ที่ให้น้ำยางแล้ว เกษตรกรยังสามารถเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิต
น้ำยางและเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ PB 235 พันธุ์ PB 255 ฯลฯ หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ฉะเชิงเทรา 50 พันธุ์ AVROS 2037 พันธุ์ BPM 24 พันธุ์ดังกล่าวเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามแหล่งขยายพันธุ์ต้นยางที่จดทะเบียน กับกรมวิชาการเกษตร ในแหล่งปลูกยางจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงได้
การปลูกด้วยต้นยางชำถุงจึงเป็นวิธีที่ปลูกได้ผลสูงกว่าวิธีการปลูกด้วยต้นตอตา ยาง หรือติดตายางในแปลง เนื่องจากการปลูกยางในพื้นที่แหล่งใหม่มีปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกน้อย กว่าในเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้ การปลูกด้วยต้นยางชำถุง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดเวลาการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง ทำให้กรีดได้เร็วขึ้น เมื่อเลือกต้นยางชำถุงได้แล้ว ในกรณีที่มีการขนส่งควรระวังอย่าให้ดินในถุงแตกและให้หันลำต้นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกัน หลังการขนส่งให้ตัดรากที่ม้วนเป็นก้อนอยู่ก้นถุงหรือที่ทะลุถุงออก นำมาวางเรียง 2-3 แถว ในแถวเดียวกัน โดยให้หันลำต้นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักปรับตัว ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูก โดยหันแผ่นตาไปทางทิศเหนือ-ใต้ ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม จากนั้นใช้มีดเฉือนก้นถุงออก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดออกจากกันทั้ง 2 ด้าน แต่อย่าเพิ่งดึงถุงออก เพราะจะทำให้ดินในถุงแตก จากนั้นจึงกลบดินประมาณครึ่งหลุม โดยนำดินชั้นบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างที่ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ให้ใส่ไว้ด้านบน จากนั้นจึงดึงถุงออก กลบดินจนเสมอปากหลุม เหยียบดินรอบๆ ต้นยางให้แน่น โดยพูนดินโคนต้นยางให้สูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขังในหลุม เสร็จแล้วใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางให้มีรัศมี 50-80 เซนติเมตร โดยให้ห่างจากต้นยาง 5-10 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
คุณ สุขุม แนะนำว่า หลังจากปลูกยางแล้ว ยางจะให้ผลผลิตสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการและการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา สวนยางเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกสร้างสวนยางประสบผลสำเร็จและให้ ผลผลิตสูงได้ เช่น การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้องถูกวิธีในอัตราและเวลาตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การตัดแต่งกิ่งในช่วงปีที่ 1-2 เพื่อให้มีพื้นที่กรีด และปล่อยให้ต้นยางสร้างทรงพุ่มต่อไปโดยธรรมชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรควรหมั่นดูแลสวนยางไม่ให้มีวัชพืชขึ้นรกด้วยการปลูกพืชคลุมดินตระกูล ถั่ว เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน หรือจะปลูกพืชแซมยางในช่วง 1-3 ปี ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดี ทำให้มีรายได้ก่อนเปิดกรีด หรือใช้วิธีถากรอบโคนต้นยาง หรือไถพรวนปีละ 2 ครั้ง โดยทำในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนก่อนการใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นยางได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มที่ พร้อมหมั่นตรวจตราดูแลในเรื่องโรคและแมลง เพื่อหาวิธีป้องกันการระบาดเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สวนยาง พอถึงช่วงฤดูแล้งควรคลุมโคนต้นยาง ก็ช่วยให้ยางรอดตายได้ หรือไม่ก็ทาปูนขาว หรือสีน้ำมันบริเวณโคนต้นยาง นอกจากจะป้องกันเปลือกไหม้จากแสงแดดได้แล้ว ยังช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้นยางอีกด้วย
หากเกษตรกรท่านใดคิดจะ ปลูกยางในช่วงต้นพฤษภาคมนี้ ต้องมีความพร้อมทั้งในเรื่องของการเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วิธีการปลูกที่ถูกวิธี และหัวใจสำคัญของการปลูกยางก็คือ การปฏิบัติต่อต้นยางเป็นอย่างดี เชื่อว่าการปลูกสร้างสวนยางย่อมประสบผลสำเร็จและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่าง แน่นอน เกษตรกรท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-7557-8 ต่อ 181, 522, 501 ได้ในเวลาราชการ